วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่2

                                              แบบฝึดหัดท้ายบทที่2
1.ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร ได้อธิบาย
  - ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบที่สามารถจับต้องได้ โดยทั่วไปมักเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง
คอมพิวเตอร์และนอกเครื่อง สำหรับซอฟต์แวรเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่ต้องการโดยจะบรรจุคำสั่งต่างๆ ที่มีการเขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ
ถูกสร้างมาโดยนักเขียนโปรแกรมที่มีความชำนาญ
2.หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งด้วยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงศ์การซอฟต์แวร์ไทย
- เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2546 เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ การพัฒนาด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน กระบวนการผลิต การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมและพัฒนามาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นยุทธศาสตร์หลักในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ภารกิจหลักของ SIPA เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ประกอบด้วยการกำหนดแผนงานและนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย ภายใต้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้วยการส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้เกิดความรู้และความเชี่ยวชาญ และส่งเสริมการจ้างงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ภารกิจด้านการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ด้วยการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างแรงจูงใจในการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยการเสนอแนะมาตรการทางด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ส่วนราชการและเอกชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำซอฟต์แวร์ไทยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพในทำงาน รวมทั้งภารกิจด้านการประสานงานกับต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 
3.นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
 - นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ
โดยจำเป็นต้องมีการศึกษาสำรวจความต้องการโดยรวมของผู้ใช้โดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทาง
ในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด โดย
ผู้ใช้เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบงานที่ต้อง

การให้กับผู้ออกแบบระบบ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดย
   เฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยก

ประเภทบัญชีให้กับผู้ออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นต้น
4.ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์ 
  - มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่มคนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้เป็นอย่างดี

5.Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
 - เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่
พัฒนาขึ้นอย่างมีแผนโดยอาศัยหลักการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับ
ซ้อนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาตรวจสอบว่า การเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักหรือไม่ เป็น

กลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี สามารถเขียนโปรแกรมได้
หลายๆ ภาษา บุคคลเหล่านี้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี

6.การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย  เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด 
 - เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวกับบุคคลในตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก มากที่สุด โดยจะต้องดูแล และบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มีการติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุม
สร้างระบบบป้องกันการบุกรุกของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีได้เป็นอย่างดี

7.binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
 - เป็นเลขฐานสองที่ประกอบตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ
คอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อนจึงสามารถ
เอามาใช้งานในการประมวลผลเลขต่าง ๆ ได้ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอลซึ่งมี 
  2 ลักษณะเท่านั้นคือ เปิด (1) ปิด (2)

8.กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ได้อธิบาย
 - เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ดจากนั้นสัญญาณ
อิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลและ แปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านจอภาพ

9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง ได้ยกตัวอย่างประกอบ
 - สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ
  - ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device)ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์
นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ไมโครโฟนเป็นต้น 
  - ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage)การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้วจากสื่อบันทึกอย่าง ใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น 
ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ ซีดี  ดีวีดี แฟร์ตไดร์ เป็นต้น

10.พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับสมองและประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
  - CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเหมือนกับ"สมอง"ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็น ส่วน ๆ คือ
      - หน่วยควบคุม ( Control Unit ) 
      - หน่วยคำนวณตรรกะ ( Arithmetic Unit) 
      - ริจิสเตอร์ ( Register )

11.ROM  และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
  - ถือว่าเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่องอย่างถาวรแม้ไฟจะดับก็ไม่สามารถทำให้คำสั่งต่างๆ หายไปได้ ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจด
จำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังอยู่เพียงเท่านั้น สามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข้ได้ตลอดเวลา

12.machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ได้อธิบาย
 - เป็นวงรอบหนึ่ง ๆ ในการทำงานของ CPU จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลัก ๆ โดยการอ่านและดึงข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู้รีจิตเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวลผลจากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและเก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่ววนอื่น ๆ เรียกต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อ
ประมวลผลแบบนี้วนช้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมนการทำงานทั้งหมด

13.ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
 -  Exectution Time หรือเวลาปฎิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของ CPU  ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฎิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น